การจัดแผ่นป้าย
แผ่นป้าย (board) หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปหลายแบบ
1. ประเภทของแผ่นพับ
........1.1 จำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่.
.......- ไม้ เป็นวัสดุแข็งแรง สามารถตกแต่งดัดแปลงได้ง่าย สะดวกในการใช้งาน เหมาะกับการทำแผ่นป้าย
........- พลาสติก เป็นวัสดุสังเคราะห์ มีหลายชนิด ชนิดที่สามารถนำมาทำแผ่นป้ายได้มีลักษณะเป็นแผ่น ขนาดความกว้างยาวเท่ากับไม้อัด
........- โลหะ เป็นวัสดุที่มีความทนทานที่สุด แต่มีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะเหล็กแผ่นหรือสแตนเลสแผ่น
........1.2 จำแนกตามลักษณะการติดตั้ง ได้แก่
........- ป้ายที่เคลื่อนที่ได้ สามารถนำไปติดตั้งในบริเวณพื้นที่ต่างๆ ได้ตามความต้องการ จึงจำเป็นต้องมีขาตั้งที่มั่นคง
........- ป้ายที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เป็นป้ายนิเทศน์ที่ติดตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่งอย่างถาวร ซึ่งอาจเป็นฝาผนัง หรือบริเวณพื้นที่ที่สวยงามเหมาะสม
2. เทคนิคการจัดทำแผ่นป้าย
........2.1 แผ่นป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร มีลักษณะแต่ละป้ายติดตายตัวกับขาตั้งได้อย่างอิสระ ไม่ต้องพึ่งพิงเกาะเกี่ยวกับวัสดุอื่น
........2.2 แผ่นป้ายอิสระ เป็นแผ่นป้ายอิสระ ไม่ยึดติดกับขาตั้งสามารถถอดประกอบกับขาตั้ง และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ได้
........2.3 แผ่นป้ายแบบแขวน เป็นแผ่นป้ายไม่ยึดติดกับขาตั้งโดยตรง สามารถถอดประกอบได้ การติดตั้งต้องใช้วิธีแขวนกับราวหรือกรอบที่ทำไว้รองรับโดยเฉพาะ ซึ่งอาจต่อเติมเสริมแต่งให้มีหลังคาขึงด้วยผ้าดิบ
........2.4 แผ่นป้ายแบบโค้งงอรูปตัวเอส (s) เป็นแผ่นป้ายที่ทำจากแผ่นพลาสติกหรือแผ่นโลหะ วัสดุทำแผ่นป้ายสามารถดัดให้เป็นรูปทรงตามต้องการได้ ทำให้ผู้ชมได้เห็นรูปทรงแผ่นป้าย ที่แปลกตาและสนใจ
........2.5 แผ่นป้ายแบบกำแพง มีความหนาเป็นพิเศษ ด้านล่างยึดติดกับฐานกล่องรูปสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมทำให้สามารถวางตั้งได้ตามลำพัง
3.การจัดป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศเป็นสื่อทัศนวัสดุประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ คือเป็นแผ่นป้ายที่ทำหน้าที่เสนอเนื้อหา เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ผู้ชมได้เรียนรู้ตามความเหมาะสม
........1. คุณค่าของป้ายนิเทศเป็นสื่อเร้าความสนใจผู้ชมโดยใช้รูปภาพ ข้อความ และสัญลักษณ์ที่สวยงาม มีความหมายต่อผู้ชม ซึ่งประหยัดเวลาในการสอนและการสื่อความหมาย เพื่อถ่ายทอดความรู้
........2. หลักการและเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ์ การจัดป้ายนิเทศน์ให้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นความสนใจ และการสื่อความหมายคำนึงถึงหลักต่อไปนี้
........- การกระตุ้นความสนใจ สามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจผู้ชมได้ด้วยความเด่น สะดุดตา จากองค์ประกอบด้านสี เส้น พื้นผิว ขนาด รูปร่าง
........- การมีส่วนร่วม สามารถกระตุ้นให้เกิดความต้องการ เมื่ออ่านหรือชมป้ายนิเทศ ทำให้เกิดความรู้สึกอยากมี อยากได้ อยากทดลอง
........- การตรึงความสนใจ สามารถรักษาความสนใจให้คงอยู่ตั้งแต่ต้นจนจบ
การจัดป้ายนิเทศให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
........- การจัดภาพบนหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ (window) เป็นการจัดเพื่อเน้นรายละเอียดด้วยรูปภาพขนาดใหญ่เพียงภาพเดียว ทำให้ภาพมีความโดดเด่นเหมาะกับเนื้อหา ต้องการถ่ายทอดรายละเอียดของความรู้และความรู้สึกด้วยรูปภาพ
........- การจัดภาพแบบละครสัตว์ (circus) เป็นการจัดภาพที่มีลักษณะเป็นกลุ่มๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ผู้ชมมีอิสระในการเลือกชมรูปภาพหรือเลือกอ่านเนื้อหาตามใจชอบ การจัดภาพแบบละครสัตว์จึงเหมาะกับเนื้อหาที่มีหลายหัวข้อย่อย
........- การจัดภาพแบบแกน (axial) เป็นการจัดภาพอยู่ตรงกลาง และมีคำอธิบายกำกับทางด้านซ้ายหรือด้านขวา
........- การจัดภาพแบบกรอบภาพ (frame) เป็นการจัดโดยนำภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวางเรียงต่อกัน ล้อมรอบเนื้อหาข้อความ
........- การจัดภาพแบบตาราง (graid) เป็นการจัดภาพไว้ในตารางซึ่งอาจเว้นช่องใดช่องหนึ่ง หรืออาจขยายภาพใดภาพหนึ่ง เพื่อให้เกิดจังหวะระหว่างรูปภาพ ทำให้ดูแปลกตา
........- การจัดภาพแบบแถบ (band) เป็นการจัดรูปภาพและเนื้อหาที่เรียงตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสุดท้าย แสดงให้เป็นลำดับขั้น เช่น การขับรถยนต์ การทำนา การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
........- การจัดภาพแบบทางเดิน (path) เป็นการจัดให้รูปภาพหรือเหตุการณ์เรียงกันอย่างต่อเนื่อง ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
การกำหนดบริเวณว่างในนิทรรศการ
........-บริเวณว่างเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดนิทรรศการ สามารถทำให้นิทรรศการมีคุณค่าและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ชมเกิดความพึงพอใจในประโยชน์ใช้สอย และความงามจากการออกแบบและการกำหนดบริเวณว่างที่เหมาะสม การเดินชมรู้สึกผ่อนคลาย จึงควรคำนึงถึงลักษณะและการออกแบบบริเวณว่างดังนี้
........1. ลักษณะของบริเวณว่างบริเวณว่างมีสองลักษณะ ได้แก่ บริเวณว่างที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์และบริเวณว่างที่นอกเหนือจากการใช้สอย บริเวณว่างทั้งสองลักษณะมีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบซึ่งกันแลกันเสมอ
........2. การออกแบบบริเวณว่าง
........- การจัดองค์ประกอบแนวตั้ง องค์ประกอบแนวตั้งโดยปกติจะกินพื้นที่อากาศในแนวดิ่ง มองโดยรวมจะเป็นเส้นตั้ง ช่วยกำหนดขอบมุมของปริมาตรของที่ว่าง แต่ถ้ากำหนดให้มีองค์ประกอบลักษณะเดียวกันมากกว่า 2 องค์ประกอบขึ้นไป และวางในตำแหน่งมุมต่างกันที่ไม่ใช่แถวเดียวกัน เช่น การวางเสาจำนวน 4 ต้น แต่ละต้นวางไว้ตามมุมของพื้นที่สี่เหลี่ยม จะก่อให้เกิดปริมาตรของบริเวณว่างระหว่างเสาทั้ง 4 ต้น
........- การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล (L) หรือระนาบมุมฉาก ช่วยสร้างปริมาตรของที่ว่างในมุมฉาก เป็นระนาบแนวตั้งสองด้านบรรจบกันที่มุมใดมุมหนึ่ง ก่อให้เกิดสนามบริเวณว่างจากมุมตามแนวทแยงมุม การรวมตัวกันของบริเวณว่างที่เกิดจากระนาบแนวตั้งทั้ง 2 ด้าน สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้จากมุมกว้าง ให้มุ่งไปยังจุดสนใจเพียงจุดเดียว
........3. การกำหนดบริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาการใช้บริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาเพื่อการเชิญชวนลูกค้าหรือผู้ชมเข้าชมและร่วมกิจกรรม ควรคำนึงถึงธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกของผู้ชม โดยเฉพาะลูกค้าใหม่หรือผู้ชมที่ยังไม่คุ้นเคยกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางใดๆ ทุกชนิด ระหว่างทางสัญจรภายนอกกับบริเวณภายในนิทรรศการ เช่น พื้นที่ต่างระดับกัน การใช้เส้นขวางหรือสีกำหนดขอบเขต โต๊ะ แผงกั้นราว ตู้ ชั้นวางสิ่งของ
..........................................................
วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น