......ธีรศักดิ์ อัครบวร ( ธีรศักดิ์ อัครบวร , 2537 , หน้า 75) อธิบายว่าโดยสำนึกและความรู้สึกในสังคมไทยเมื่อกล่าวถึงการจัดแสดงแล้ว จะให้ความคิดไปในเรื่องของนันทนาการ งานรื่นเริง หรืองานสวนสนุกเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นความหมายของ Display จึงตรงกับศัพท์ในภาษาไทยว่า “จุลนิทัศน์” มากกว่า
......จุลนิทัศน์ มาจากคำว่า จุล กับ นิทัศน์ พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546, หน้า391, 588, 1384) อธิบายว่า
........จุล (ว.) เล็ก น้อย ใช้นำหน้าคำสมาส
........นิทัศน์ (น.) ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นอุทาหรณ์
........อุทาหรณ์ (น.) ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็น สิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมาเทียบเคียงเป็นตัวอย่าง
........ดังนั้นจุลนิทัศน์ หรือ การจัดแสดง จึงแปลว่าตัวอย่าที่นำมาจัดแสดงให้เห็นเพียงเล็กน้อย
........สรุปได้ว่าการจัดแสดงหมายถึง นิทัศน์การขนาดเล็กมากที่นำเสนอข้อมูล วัตถุสิ่งของผลงาน สินค้า หรือผลิตภัณฑ์บางส่วนพอเป็นตัวอย่างในสถานที่ที่มีการตกแต่งไว้อย่างสวยงามและเหมาะสม โดยเน้นเป็นพิเศษเพื่อเร้าใจให้ผู้ชมเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ความหมายของนิทรรศการ
......ในประเทศไทยกิจกรรมการจัดนิทรรศการได้จัดอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่6 ) ในขณะนั้นยังใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า exhibition ครั้งที่ 1 (ธีรศักดิ์ อัครบวร, 2537, หน้า7)นิทรรศการหมายถึงการจัดแสดงข้อมูลเนื้อหาผลงานต่างๆ ด้วยวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์และกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีการวางแผนและออกแบบที่เร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการดู การฟัง การสังเกต การจับต้อง และการทดลองด้วยสื่อที่หลากหลาย เช่นรูปภาพ ของจริง หุ่นจำลอง ป้ายนิเทศ และกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกวด การแข่งขัน การบรรยาย การสาธิต การอภิปราย และการตอบคำถาม เป็นต้น.
ประวัติของการจัดแสดง
1. ที่มาของความคิดในการจัดแสดงการจัดแสดงมีมาตั้งแต่ยุคก่อน เมื่อมนุษย์เริ่มจะรู้จักการแต่งตัว อาจเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อื่นหรือทำตัวเองให้เด่นขึ้น ต่อมาก็เป็นการแต่งกายเพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าตนคือหัวหน้าเผ่า หรือหมอผีประจำเผ่า นับเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดจุลนิทัศน์
2. การจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า สมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยไว้บนศิลาจารึกมีลักษณะแท่ง 4 เหลี่ยม มีอักษรทั้ง 4 ด้านเมื่อ พ.ศ. 1826 ทรงทำสิลาจารึกพระกรณียกิจเรื่องราวต่างๆ ไว้ อันมีประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์.
ประวัติของนิทรรศการ
1. จุดเริ่มต้นของนิทรรศการจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เป็นภาพเขียนจำนวนมากในถ้ำ ( Lascause ) และถ้ำ ( Altamila ) ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ทางเหนือของประเทศเสปน นักโบราณคดีระบุว่าเป็นราว15000 - 10000 ปี ก่อนคริสตศักราชเป็นฝีมือของมนุษย์เผ่าโครมันยอง
2. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคโบราณในสมัยโบราณมีการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ลักษณะการจัดเทศกาลแสดงสินค้ากรอเลีย ได้อธิบายคำศัพท์การจัดเทศกาลแสดงสินค้าซึ่งประมวลได้คำว่า fair จึงมีการจัดแสดงนิทรรศการมาตั้งแต่ยุคโบราณเช่น ประเทศอียิปต์ได้จัดสร้างตลาดเพื่อซื้อขายสินค้าที่สุสาน ชาวกรีกจัดแสดงสินค้าและเทศการสรรเสริญพระเจ้าที่เมืองเดลฟี่ ที่อาณาจักรโรมันมีการจัดเทศกาลสินค้ากับฤดุกาลเก็บเกี่ยวกับการเกษตร เป็นต้น
3. การจัดเทศกาลแสดงสินค้ายุคกลางและยุคหลังในยุคกลางผู้คนเริ่มสนใจการจัดนิทรรศการมากขึ้น หลังจากการปกครองของอาณาจักรโรมัน การแสดงสินค้าเป็นการพบปะกันของหลายปะเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม รัสเซีย และเยอรมัน
4. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศอังกฤษราวคริตศ์ศตวรรษที่ 12 การจัดแสดงสินค้าครั้งแรกที่เมืองเวสต์ สวิธฟิลด์ ในกรุงลอนดอนงานแสดงสินค้ามีชื่อว่า บาร์โธโลมิวแฟร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรวมพิธีการทางศาสนา
5. การจัดแสดงสินค้าในประเทศรัสเซียจัดขึ้นที่เมือง นิชชิ นอร์ดกโรด์เป็นเมืองที่มีการแสดงสินค้าของสินค้าจากแดนไกล ได้แก่ กาแฟจากเมืองจีน พรมจากประเทศเปอร์เซียและญี่ปุ่น โดยมีชื่องานว่า รัสเซียนแฟร์
6. การจัดแสดงสินค้าในประเทศเยอรมันการจัดแสดงสินค้าในประเทศเยอรมันเริ่มขึ้นที่เมือง ลิปซิง จนกลายเป็นงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก แสดงสินค้าประเภทหนังสือ ขนสัตว์ มีผู้ซื้อสินค้ามาจากประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป
7. การจัดแสดงสินค้าในประเทศอเมริกาเกือบ 300 ปีที่แล้ว ได้มีการจัดแสดงสินค้าที่เมือง นิวเจอร์ซี่ ถึง 2 ครั้ง ต่อจากนั้นมีการจัดขึ้นอีกหลายครั้ง จนกระทั้งปี ค.ศ. 1810 เอลกานาห์ วัตสัน ซึ่งใด้นำเอาสุกรสีดำเต้มขาว ที่หน้า ที่เท้า ที่หางในเมืองพิทซ์ฟิลด์และเมืองแมสซาจูเสทส์ จนกลายเป็นงานประจำปีไปอย่างแพร่หลายทั่วสหรัฐอเมริกา
8. การจัดแสดงสินค้าสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 19 โรงงานต่าง ๆ ที่ผลิตสินค้าจำนวนมากมาย การสื่อสารการขนส่งสินค้าที่ดีขึ้น มีการจัดแสดงสินค้าเฉพาะสินค้าตัวอย่างเท่านั้นมีการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่จะเห็นความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะและสถาปัคยกรรมจากทั่วโลกนิยมเรียกว่า มหกรรมงานมหกรรมครั้งแรกจัดขึ้นที่ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1851ปี ค.ศ.1958 จัดขึ้นที่ กรุงบรัสเซล ประเทศ เบลเยี่ยมปี ค.ศ.1962 จัดขึ้นที่ เมือง ซีอิททึล ประเทศ อเมริกาปี ค.ศ.1964 - 1965 จัดขึ้นที่ นครนิวยอร์ค ประเทศ อเมริกาปี ค.ศ.1970 จัดขึ้นที่ เมืองโอวากา ประเทศ ญี่ปุ่นปี ค.ศ.1985 จัดขึ้นที่ ประเทศญี่ปุ่น มีชื่องานว่าสึกูบาปี ค.ศ.1986 จัดขึ้นที่ เมืองเวนคูเวอร์ ประเทศ แคนนาดาปี ค.ศ.1994 จัดขึ้นที่ เมืองโคโลน ประเทศเยอรมันปี ค.ศ.2000 จัดขึ้นที่ เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมันปี ค.ศ.2005 จัดขึ้นที่ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น.
9. การจัดนิทรรศการในประเทศไทยจากประวัติศาสตร์ไทยพบว่า นิทรรศการจัดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกในวัง ได้แก่ภาพจิตกรรมในโบสถ์เป็นการศิลปะบนฝาผนัง ในวังก็เป็นภาพเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ส่วนของประชาชนก็จะมีการจัดแสดงพระบรมรูปให้ได้เคารพบูชาความสำคัญของการจัดนิทรรศการการจัดนิทรรศการมีอิทธิพลต่อผู้ชมทางด้าน ความรู้ความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก การเปลี่ยนเจตคติ การศึกษาการค้า และศิลปวัฒนธรรม
วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการ
1. ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้เรื่องต่างๆ ด้วยสื่อที่หลากหลาย
2. สร้างความประทับใจ ความศรัทธา ของผู้ที่จัดนิทรรศการ
3. กระตุ้นผู้ชมให้เกิดเจตคติใหม่ ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่องค์กรตั้งไว้
4. เพื่อสร้างภาพพจน์ใหม่ๆ ให้แก่องค์ที่จัดนิทรรศการ
5. สร้างความบันเทิง ด้วยกิจกรรมต่างๆ
6. เพื่อประเมินประสิทธภาพการทำงานขององค์ที่จัดนิทรรศการ
คุณค่าของการจัดนิทรรศการ
1. เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ และข้อมูลต่างๆ
2. ถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรม
3. ถ่ายทอดประสบการณ์โยยเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมโดยการใช้กิจกรรม
4. ตอบสนองความรู้ของคนได้ดีและจำนววนมาก เนื่องจากใช้สื่อที่หลากหลาย
5. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
คุณสมบัติของผู้จัดนิทรรศการ
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์
2. มีประสบการณ์ทางวิชาการแขนงต่างๆ เช่น ศิลปะ สถาปัตยกรรม งานช่าง งานผลิตออกแบบสื่อ เป็นต้น
3. มีความคิดสร้างสรรค์
4. ทำงานอย่างมีระบบ มีการวางแผนเป็นอย่างดี
5. มีแรงจูงใจ มีความสุขที่จะทำงานให้สำเร็จ
ประเภทของการจัดแสดงนิทรรศการ
1. จำแนกตามขนาด
.......1.1 การจัดแสดงจุลนิทรรศ
.......1.2 นิทรรศการทั่วไป
.......1.3 มหกรรม
2. จำแนกตามวัตถุประสงค์
.......2.1 นิทรรศการเพื่อการศึกษา
.......2.2 นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
.......2.3 นิทรรศการเพื่อการค้า
3. จำแนกตามระยะเวลาที่จัด
.......3.1 นิทรรศการถาวร
.......3.2 นิทรรศการชั่วคราว
.......3.3 นิทรรศการเคลื่อนที่
4. จำแนกตามสถานที่
.......4.1 นิทรรศการในอาคาร
.......4.2 นิทรรศการกลางแจ้ง
.......4.3 นิทรรศการกึ่งในอาคารกึ่งกลางแจ้ง
...........................................................
วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น