วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่3 หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ

การรับรู้
การรับรู้ คือ การสัมผัสที่มีความหมาย การรับรู้เป็นกระบวนการหรือตีความแห่งการสัมผัสที่ได้รับจากการออกแบบเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความหมาย

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้
.......1. ปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีบทบาทในการกระตุ้นการรับรู้ให้ผู้ชมสนใจนิทรรศการ ได้แก่ สื่อและกิจกรรมต่างๆ ที่นำมาจัดแสดง
........- ความเข้ม ความชัดเจนของสื่ออาจประกอบด้วยแสง สีสันที่โดดเด่นสวยงาม
........- ขนาด วัตถุหรือสิ่งเร้าที่มีขนาดใหญ่มักดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าขนาดเล็ก
........- ความแปลกใหม่ การเปลี่ยนแปลงทำให้สิ่งเร้าผิดปกติไปจากเดิม สร้างความสนใจได้ดี
........- ความเป็นหนึ่งเดียว สิ่งของหรือวัตถุที่มีอยู่หนึ่งเดียวบนพื้นที่ว่าง บริเวณกว้างก่อให้เกิดความสนใจได้ดี
........- ระยะทาง สิ่งของหรือรูปภาพที่วางซ้อนทับกันบางส่วนจะก่อให้เกิดมิติตื้นลึก ทำให้ดูเป็นระยะทางใกล้ไกล
........2. ปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายใน หมายถึง ปัจจัยด้านจิตวิทยา เนื่องจากอวัยวะรับสัมผัสมีขีดจำกัดในการรับรู้
........-ความตั้งใจ เป็นการเตรียมพร้อมของมนุษย์เพื่อรับสัมผัสให้ได้ชัดเจน
........- แรงขับ เป็นแรงกระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่างๆ
........- อารมณ์ หรือคุณภาพของจิตใจ หากอารมณ์แจ่มใสจะสามารถแปลความหมายของการรับสัมผัสได้ถูกต้องกว่าขณะอารมณ์ขุ่นมัว
........- ความสนใจ ความโน้มเอียงที่จะแสดงบทบาทและเข้าร่วมในกิจกรรมหนึ่งๆ
........- สติปัญญา เป็นความสามารถชั้นสูงของมนุษย์ในการผสมผสานระหว่างความรู้สึกกับความคิดอย่างเป็นเหตุผล

การรับรู้นิทรรศการตามแนวทฤษฎีจิตวิทยา
........หลักของความใกล้ชิด หมายถึง สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งเร้าที่อยู้ห่างไกล
........หลักของความคล้ายคลึง หมายถึง สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ทำให้การรับรู้มีแนวโน้มเป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่แตกต่างกัน แม้สิ่งนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลกัน
........หลักของความต่อเนื่อง หมายถึง สิ่งเร้าที่ปรากฎให้เห็นอย่างซ้ำๆ เหมือนกัน ไปในทิศทางเดียวกันอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มเป็นพวกเดียวกันมากกว่าที่จะแยกจากกันคนละทิศทาง หลักของความต่อเนื่องสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดีทั้งในด้านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์และการนำเสนอเนื้อหา สื่อหรือองค์ประกอบที่มีศักยภาพสูงในการแสดงความต่อเนื่องได้ดี
........หลักของความประสาน เป็นการต่อเติมสิ่งเร้าที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ สิ่งที่ผิดปกติหรือส่วนของรูปภาพหรือของวัตถุที่หายไปจะกระตุ้นการรับรู้ได้ดี ความไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความสงสัยทำให้เราสนใจ และคาดเดาด้วยการเติมเต็มส่วนที่บกพร่องให้สมบูรณ์การเรียนรู้

ประเภทของการเรียนรู้
........1. การเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจ หมายถึง พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับความรู้ความจำความเข้าใจ การวิเคราะห์การสังเคราะห์ การประเมินค่า ผู้ชมสามารถเกิดการเรียนรู้ได้จากสื่อหรือวิธีการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น รูปภาพ หุ่นจำลอง ของจริง ของตัวอย่าง แผนภูมิ แผนสถิติ
........2. การเรียนรู้ด้านเจตคติหรือด้านอารมณ์จิตใจ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านจิตใจอารมณ์หรือความรู้สึก ทำให้ผู้ชมเกิดความพอใจซาบซึ้ง เห็นคุณค่า เกิดความศรัทธาภาคภูมิใจ เนื่องจากการนำเสนอสื่อและกิจกรรมในงานนิทรรรศการเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีอิสระในการเลือกชม
........3. การเรียนรู้ด้านกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกี่ยวกับทักษะหรือความชำนาญในการใช้กล้ามเนื้อหรืออวัยวะต่างๆ ในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการพูด การอ่าน การเขียน การเล่นดนตรี กีฬา ฟ้อนรำ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้ชมในการชมนิทรรศการ
..........1. ผู้ชมหรือผู้เรียน
............-วุฒิภาวะและความพร้อม หมายถึง ความเจริญเติบโตเป็นลำดับขั้นตามธรรมชาติทั้งร่างกายและจิตใจ
............-เพศ เพศหญิงและชายมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ทัดเทียมกันแต่ความสนใจไม่เหมือนกัน
............-สติปัญญา เป็นสมรรถภาพการทำงานของสมองในการรับรู้และการเรียนรู้ข้อมูล
............-อารมณ์ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในของบุคคล เปลี่ยนแปลงได้ง่ายและรวดเร็ว
............-ความสนใจ เป็นตัวกระตุ้นให้การเรียนรู้มีจุดมุ่งหมาย
............-ประสบการณ์ หมายถึง การสะสมข้อมูลต่างๆ ไว้ในสมองในรูปของความจำ
............-ระดับการศึกษา เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา สื่อ และวิธีการนำเสนอในนิทรรศการ
..........2. เนื้อหาบทเรียนและกิจกรรม
............-ความยากง่ายของเนื้อหา ควรเหมาะสมกับวุฒิภาวะและคุณสมบัติอื่นๆ ของผู้ชม
............-ความหมายของเนื้อหา ต้องมีความหมายหรือมีความสำคัญต่อผู้ชม อาจมีความหมายในการประกอบอาชีพ การเรียน การดำเนินชีวิต
............-ความสอดคล้องของเนื้อหากับกิจกรรม เนื้อหาบางอย่างเพียงแต่ดูหรือฟังก็เกิดการเรียนรู้ เนื้อหาบางอย่างต้องทดลองหรือปฏิบัติจึงเกิดการเรียนรู้
..........3. เทคนิคการนำเสนอ
............-ความพร้อม ก่อนถึงเวลาการนำเสนอควรเตรียมความพร้อมในเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อยทุกด้าน
............-ความคล่องแคล่ว ผู้นำเสนอต้องบรรยายหรือนำเสนอด้วยความชำนาญ
............-ความชัดเจนถูกต้อง เนื้อหาที่นำเสนอแก่ผู้ชมต้องมีความถูกต้อง สามารถระบุแหล่งที่มาให้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้

จิตวิทยาพัฒนาการ
วัยหรืออายุของผู้ชมมีความเกี่ยวข้องกับวุฒิภาวะ ความพร้อม การรับรู้ การเรียนรู้ ความต้องการ ความสนใจและประสบการณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ในการชมนิทรรศการ
........1. วัยเด็กตอนต้น มีอายุตั้งแต่ 2-6 ปี เป็นวัยที่มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เพราะเริ่มก้าวออกสู่สังคมนอกบ้าน เด็กวัยนี้ชอบสิ่งแปลกใหม่สนใจสิ่งรอบตัว ช่างสำรวจ ช่างซักถาม ชอบรูปภาพในหนังสือ ชอบวิ่งเล่น ร้องเพลงที่มีจังหวะง่ายๆ เนื้อหาหรือกิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการสำหรับเด็กวัยตอนต้น เช่น ของเล่น ตุ๊กตา อุปกรณ์ล้อเลียน เครื่องเล่นที่มีการเคลื่อนไหว ภาพยนตร์การ์ตูน กิจกรรมการขีดเขียน การตัดกระดาษ การปั้นดินน้ำมัน
........2. วัยเด็กตอนกลาง มีอายุประมาณ 7-12 ปี สนใจสภาพแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว พอใจที่จะเผชิญสิ่งแปลกใหม่ ชอบอ่านหนังสือ ฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์ ชอบภาพยนตร์ประเภทนิทาน นิยายผจญภัยลึกลับ การทดลองค้นคว้าหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ สนใจร่างกายของตนเอง สัตว์เลี้ยง การออกกำลังกาย กิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการสำหรับเด็กวัยตอนกลาง เช่น นิทาน หนังสือการ์ตูน การร้องเพลงและการแสดงบนเวที การปั้นดินน้ำมัน การพับกระดาษ การเล่นกลางแจ้ง การขี่จักรยาน ว่ายน้ำ การวาดภาพ
........3. วัยรุ่น อายุประมาณ 13-19 ปี ลักษณะการสนใจของวัยรุ่นมีขอบข่ายกว้างขวาง สนใจและชอบเลียนแบบบุคคลที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะดารา วัยรุ่นทั่วไปจะสนใจตนเอง เช่น รูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ การแต่งกาย การปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย สนใจคบเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ มีงานอดิเรกที่แตกต่างกันไป เช่น อ่านหนังสือ เล่นดนตรี เล่นกีฬา เล่นคอมพิวเตอร์ กิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการสำหรับวัยรุ่น เช่น การดูแลสุขภาพวัยรุ่น การปรับปรุงบุคลิกภาพ ดนตรี กีฬาและการแข่งขัน ทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ศิลปะแขนงต่างๆ การแข่งขันความสามารถด้านต่างๆ การท่องเที่ยวและนันทนาการ
........4. วัยผู้ใหญ่
........- วัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุประมาณ 20-40 ปี สนใจเกี่ยวกับเรื่องรูปร่างหน้าตา การปรับปรุงบุคลิกภาพ อยู่ในวัยสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ที่อยู่อาศัย การปรับตัวให้เข้ากับคู่สมรส การอบรมเลี้ยงดูลูก ให้ความสนใจกับงานสังคม การเมือง งานอดิเรก การพักผ่อนและศาสนา กิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการ เช่น อาชีพและรายได้ การแข่งขันเชิงวิชาชีพ การส่งเสริมการศึกษาสำหรับลูก ที่อยู่อาศัย สุขภาพอนามัย ศิลปวัฒนธรรมและงานประเพณี
.......- วัยผู้ใญ่ตอนกลาง อายุ 40-60 ปี เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจไปในทางที่เสื่อมถอย ความสนใจอยู่ที่เรื่องสุขภาพ กิจกรรมยามว่าง ความสัมพันธ์ในครอบครัว การทำประโยชน์ให้สังคม กิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการควรเป็นเรื่องจริงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน อาชีพและรายได้ที่มั่นคง สุขภาพอนามัย ความผูกพันกับชีวิตครอบครัว
.......- วัยชรา อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยปรับตัวให้เหมาะกับความเสื่อมของสุขภาพร่างกาย สนใจเรื่องสุขภาพ ชอบให้มีคนอยู่เป็นเพื่อน สนใจเรื่องราวในอดีต กิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการ เช่น เรื่องราวในอดีต ประสบการณ์และความสำเร็จ ศาสนาและความเชื่อ การดูแลสุขภาพอนามัย การพักผ่อน กิจกรรมแสดงความรักและความเคารพ การเตรียมตัวในบั้นปลายชีวิต
.....................................................

ไม่มีความคิดเห็น:

เยี่ยมชม blogger