วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 1 ความหมายของการจัดนิทรรศการ

......ธีรศักดิ์ อัครบวร ( ธีรศักดิ์ อัครบวร , 2537 , หน้า 75) อธิบายว่าโดยสำนึกและความรู้สึกในสังคมไทยเมื่อกล่าวถึงการจัดแสดงแล้ว จะให้ความคิดไปในเรื่องของนันทนาการ งานรื่นเริง หรืองานสวนสนุกเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นความหมายของ Display จึงตรงกับศัพท์ในภาษาไทยว่า “จุลนิทัศน์” มากกว่า
......จุลนิทัศน์ มาจากคำว่า จุล กับ นิทัศน์ พจนานุกรมฉบับราชบัญฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546, หน้า391, 588, 1384) อธิบายว่า
........จุล (ว.) เล็ก น้อย ใช้นำหน้าคำสมาส
........นิทัศน์ (น.) ตัวอย่างที่นำมาแสดงให้เห็นอุทาหรณ์
........อุทาหรณ์ (น.) ตัวอย่างที่ยกขึ้นมาอ้างให้เห็น สิ่งหรือเรื่องที่ยกขึ้นมาเทียบเคียงเป็นตัวอย่าง
........ดังนั้นจุลนิทัศน์ หรือ การจัดแสดง จึงแปลว่าตัวอย่าที่นำมาจัดแสดงให้เห็นเพียงเล็กน้อย
........สรุปได้ว่าการจัดแสดงหมายถึง นิทัศน์การขนาดเล็กมากที่นำเสนอข้อมูล วัตถุสิ่งของผลงาน สินค้า หรือผลิตภัณฑ์บางส่วนพอเป็นตัวอย่างในสถานที่ที่มีการตกแต่งไว้อย่างสวยงามและเหมาะสม โดยเน้นเป็นพิเศษเพื่อเร้าใจให้ผู้ชมเปลี่ยนแปลงทัศนคติหรือพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

ความหมายของนิทรรศการ
......ในประเทศไทยกิจกรรมการจัดนิทรรศการได้จัดอย่างเป็นทางการครั้งแรกในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่6 ) ในขณะนั้นยังใช้ศัพท์ภาษาอังกฤษว่า exhibition ครั้งที่ 1 (ธีรศักดิ์ อัครบวร, 2537, หน้า7)นิทรรศการหมายถึงการจัดแสดงข้อมูลเนื้อหาผลงานต่างๆ ด้วยวัสดุ สิ่งของ อุปกรณ์และกิจกรรมที่หลากหลายแต่มีความสัมพันธ์กันในแต่ละเรื่องโดยมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน มีการวางแผนและออกแบบที่เร้าความสนใจให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในการดู การฟัง การสังเกต การจับต้อง และการทดลองด้วยสื่อที่หลากหลาย เช่นรูปภาพ ของจริง หุ่นจำลอง ป้ายนิเทศ และกิจกรรมต่างๆ เช่น การประกวด การแข่งขัน การบรรยาย การสาธิต การอภิปราย และการตอบคำถาม เป็นต้น.

ประวัติของการจัดแสดง
1. ที่มาของความคิดในการจัดแสดงการจัดแสดงมีมาตั้งแต่ยุคก่อน เมื่อมนุษย์เริ่มจะรู้จักการแต่งตัว อาจเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้อื่นหรือทำตัวเองให้เด่นขึ้น ต่อมาก็เป็นการแต่งกายเพื่อให้ผู้อื่นรู้ว่าตนคือหัวหน้าเผ่า หรือหมอผีประจำเผ่า นับเป็นจุดเริ่มต้นของการจัดจุลนิทัศน์
2. การจัดแสดงเพื่อการศึกษาในประเทศไทยจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า สมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์อักษรไทยไว้บนศิลาจารึกมีลักษณะแท่ง 4 เหลี่ยม มีอักษรทั้ง 4 ด้านเมื่อ พ.ศ. 1826 ทรงทำสิลาจารึกพระกรณียกิจเรื่องราวต่างๆ ไว้ อันมีประโยชน์ในทางประวัติศาสตร์.

ประวัติของนิทรรศการ
1. จุดเริ่มต้นของนิทรรศการจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีที่เป็นภาพเขียนจำนวนมากในถ้ำ ( Lascause ) และถ้ำ ( Altamila ) ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ทางเหนือของประเทศเสปน นักโบราณคดีระบุว่าเป็นราว15000 - 10000 ปี ก่อนคริสตศักราชเป็นฝีมือของมนุษย์เผ่าโครมันยอง
2. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในยุคโบราณในสมัยโบราณมีการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่ลักษณะการจัดเทศกาลแสดงสินค้ากรอเลีย ได้อธิบายคำศัพท์การจัดเทศกาลแสดงสินค้าซึ่งประมวลได้คำว่า fair จึงมีการจัดแสดงนิทรรศการมาตั้งแต่ยุคโบราณเช่น ประเทศอียิปต์ได้จัดสร้างตลาดเพื่อซื้อขายสินค้าที่สุสาน ชาวกรีกจัดแสดงสินค้าและเทศการสรรเสริญพระเจ้าที่เมืองเดลฟี่ ที่อาณาจักรโรมันมีการจัดเทศกาลสินค้ากับฤดุกาลเก็บเกี่ยวกับการเกษตร เป็นต้น
3. การจัดเทศกาลแสดงสินค้ายุคกลางและยุคหลังในยุคกลางผู้คนเริ่มสนใจการจัดนิทรรศการมากขึ้น หลังจากการปกครองของอาณาจักรโรมัน การแสดงสินค้าเป็นการพบปะกันของหลายปะเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม รัสเซีย และเยอรมัน
4. การจัดเทศกาลแสดงสินค้าในประเทศอังกฤษราวคริตศ์ศตวรรษที่ 12 การจัดแสดงสินค้าครั้งแรกที่เมืองเวสต์ สวิธฟิลด์ ในกรุงลอนดอนงานแสดงสินค้ามีชื่อว่า บาร์โธโลมิวแฟร์ โดยมีจุดประสงค์เพื่อการรวมพิธีการทางศาสนา
5. การจัดแสดงสินค้าในประเทศรัสเซียจัดขึ้นที่เมือง นิชชิ นอร์ดกโรด์เป็นเมืองที่มีการแสดงสินค้าของสินค้าจากแดนไกล ได้แก่ กาแฟจากเมืองจีน พรมจากประเทศเปอร์เซียและญี่ปุ่น โดยมีชื่องานว่า รัสเซียนแฟร์
6. การจัดแสดงสินค้าในประเทศเยอรมันการจัดแสดงสินค้าในประเทศเยอรมันเริ่มขึ้นที่เมือง ลิปซิง จนกลายเป็นงานแสดงสินค้าที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก แสดงสินค้าประเภทหนังสือ ขนสัตว์ มีผู้ซื้อสินค้ามาจากประเทศต่างๆ ทั่วยุโรป
7. การจัดแสดงสินค้าในประเทศอเมริกาเกือบ 300 ปีที่แล้ว ได้มีการจัดแสดงสินค้าที่เมือง นิวเจอร์ซี่ ถึง 2 ครั้ง ต่อจากนั้นมีการจัดขึ้นอีกหลายครั้ง จนกระทั้งปี ค.ศ. 1810 เอลกานาห์ วัตสัน ซึ่งใด้นำเอาสุกรสีดำเต้มขาว ที่หน้า ที่เท้า ที่หางในเมืองพิทซ์ฟิลด์และเมืองแมสซาจูเสทส์ จนกลายเป็นงานประจำปีไปอย่างแพร่หลายทั่วสหรัฐอเมริกา
8. การจัดแสดงสินค้าสมัยใหม่ในศตวรรษที่ 19 โรงงานต่าง ๆ ที่ผลิตสินค้าจำนวนมากมาย การสื่อสารการขนส่งสินค้าที่ดีขึ้น มีการจัดแสดงสินค้าเฉพาะสินค้าตัวอย่างเท่านั้นมีการจัดนิทรรศการขนาดใหญ่จะเห็นความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์ ศิลปะและสถาปัคยกรรมจากทั่วโลกนิยมเรียกว่า มหกรรมงานมหกรรมครั้งแรกจัดขึ้นที่ กรุงลอนดอนประเทศอังกฤษ ในปี ค.ศ.1851ปี ค.ศ.1958 จัดขึ้นที่ กรุงบรัสเซล ประเทศ เบลเยี่ยมปี ค.ศ.1962 จัดขึ้นที่ เมือง ซีอิททึล ประเทศ อเมริกาปี ค.ศ.1964 - 1965 จัดขึ้นที่ นครนิวยอร์ค ประเทศ อเมริกาปี ค.ศ.1970 จัดขึ้นที่ เมืองโอวากา ประเทศ ญี่ปุ่นปี ค.ศ.1985 จัดขึ้นที่ ประเทศญี่ปุ่น มีชื่องานว่าสึกูบาปี ค.ศ.1986 จัดขึ้นที่ เมืองเวนคูเวอร์ ประเทศ แคนนาดาปี ค.ศ.1994 จัดขึ้นที่ เมืองโคโลน ประเทศเยอรมันปี ค.ศ.2000 จัดขึ้นที่ เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมันปี ค.ศ.2005 จัดขึ้นที่ จังหวัดไอจิ ประเทศญี่ปุ่น.
9. การจัดนิทรรศการในประเทศไทยจากประวัติศาสตร์ไทยพบว่า นิทรรศการจัดขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกในวัง ได้แก่ภาพจิตกรรมในโบสถ์เป็นการศิลปะบนฝาผนัง ในวังก็เป็นภาพเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ ส่วนของประชาชนก็จะมีการจัดแสดงพระบรมรูปให้ได้เคารพบูชาความสำคัญของการจัดนิทรรศการการจัดนิทรรศการมีอิทธิพลต่อผู้ชมทางด้าน ความรู้ความเข้าใจอารมณ์ความรู้สึก การเปลี่ยนเจตคติ การศึกษาการค้า และศิลปวัฒนธรรม

วัตถุประสงค์ในการจัดนิทรรศการ
1. ถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้เรื่องต่างๆ ด้วยสื่อที่หลากหลาย
2. สร้างความประทับใจ ความศรัทธา ของผู้ที่จัดนิทรรศการ
3. กระตุ้นผู้ชมให้เกิดเจตคติใหม่ ๆ ตามวัตถุประสงค์ที่องค์กรตั้งไว้
4. เพื่อสร้างภาพพจน์ใหม่ๆ ให้แก่องค์ที่จัดนิทรรศการ
5. สร้างความบันเทิง ด้วยกิจกรรมต่างๆ
6. เพื่อประเมินประสิทธภาพการทำงานขององค์ที่จัดนิทรรศการ

คุณค่าของการจัดนิทรรศการ
1. เป็นแหล่งรวบรวมความรู้ และข้อมูลต่างๆ
2. ถ่ายทอดสิ่งที่เป็นนามธรรม ให้เป็นรูปธรรม
3. ถ่ายทอดประสบการณ์โยยเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีส่วนร่วมโดยการใช้กิจกรรม
4. ตอบสนองความรู้ของคนได้ดีและจำนววนมาก เนื่องจากใช้สื่อที่หลากหลาย
5. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม

คุณสมบัติของผู้จัดนิทรรศการ
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติการเรียนรู้ของมนุษย์
2. มีประสบการณ์ทางวิชาการแขนงต่างๆ เช่น ศิลปะ สถาปัตยกรรม งานช่าง งานผลิตออกแบบสื่อ เป็นต้น
3. มีความคิดสร้างสรรค์
4. ทำงานอย่างมีระบบ มีการวางแผนเป็นอย่างดี
5. มีแรงจูงใจ มีความสุขที่จะทำงานให้สำเร็จ

ประเภทของการจัดแสดงนิทรรศการ
1. จำแนกตามขนาด
.......1.1 การจัดแสดงจุลนิทรรศ
.......1.2 นิทรรศการทั่วไป
.......1.3 มหกรรม
2. จำแนกตามวัตถุประสงค์
.......2.1 นิทรรศการเพื่อการศึกษา
.......2.2 นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
.......2.3 นิทรรศการเพื่อการค้า
3. จำแนกตามระยะเวลาที่จัด
.......3.1 นิทรรศการถาวร
.......3.2 นิทรรศการชั่วคราว
.......3.3 นิทรรศการเคลื่อนที่
4. จำแนกตามสถานที่
.......4.1 นิทรรศการในอาคาร
.......4.2 นิทรรศการกลางแจ้ง
.......4.3 นิทรรศการกึ่งในอาคารกึ่งกลางแจ้ง
...........................................................

บทที่ 2 ลักษณะของนิทรรศการ

การจัดแสดงหรือจุลนิทัศน์
เป็นการจัดนิทรรศการขนาดเล็กการจัดจุลนิทัศน์มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีพื้นที่ขนาดเล็ก อุปกรณ์น้อยชิ้นใช้พื้นที่น้อย เนื้อหามีเรื้องเดียว เมื่อนำจุลนิทัศน์มารวมกันเป็นนิทรรศการ ดึงดูดสายตาคนที่ผ่านไปผ่านมา เร้าความสนใจได้ดี ก่อให้เกิดความปารถนาที่จะเป็นเจ้าของ โน้มน้าวให้คนเชื่อมั่นที่จะซื้อสินค้า กระตุ้นให้ตัดสินใจซื้อ ทำให้เกิดความพอใจและประทับใจนิทรรศการทั่วไปแบ่งเป็น 4 ขนาดตามพื้นที่ๆ จัดแสดง
1. นิทรรศการขนาดเล็ก มีพื้นที่น้อยกว่า 37ตารางเมตร
2. นิทรรศการขนาดกลาง มีพื้นที่ตั้งแต่ 38 – 148 ตารางเมตร
3. นิทรรศการขนาดใหญ่ มีพื้นที่ตั้งแต่ 149 - 371ตารางเมตร
4. นิทรรศการขนาดยักษ์ มีพื้นที่มากว่า 371ตารางเมตรขึ้นไป

การจัดนิทรรศการมีลักษณะสำคัญดังนี้
.......1. มักจัดในโอกาสพิเศษ
.......2. มีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจน
.......3. มีวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย.

มหกรรม
......เป็นนิทรรศการขนาดใหญ่โตมโหฬารมีลักษณะสำคัญดังนี้ ใช้พื้นที่ขนาดใหญ่มาก ใช้งบประมาณมาก กลุ่มเป้าหมายเป็นคนจากทั่วโลก แสดงถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี.นิทรรศการเพื่อการศึกษา
......เป็นการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ไปสู่ผู้เรียนโดยมีลักษณะที่สำคัญดังนี้ ทำให้ผู้ชมได้ความรู้เป็นสำคัญ ส่งเสริมให้ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีทางการศึกษา จัดได้ทั้งในห้องเรียน ในโรงเรียน นอกโรงเรียน ที่ชุมชน จัดได้ทั้ง นิทรรศการชั่วคราว นิทรรศการเคลื่อนที่ และนิทรรศการถาวร จัดขึ้นที่องค์กรต่างๆ ให้ความรู้ได้อย่างดี เช่น พิพิธภัณฑสถานประจำจังหวัด โรงพยาบาล องค์การบริการส่วนตำบล เป็นต้น.นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์
......นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์เน้นเพื่อการสร้างความสำพันธ์ระหว่างประชาชนกับองค์กรหรือหน่วยงานต่างๆ มีลักษณะสำคัญดังนี้ มีการรวบรวมข้อเท็จจริง ให้ผู้ชมมีทัศนคติที่ดีต่อหน่วยงาน มีแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจนเชื่อถือได้ จัดตามเทศกาลต่างๆ มีรูปแบบที่หลากหลายแปลกใหม่ ส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆเช่น การตอบปัญญา การตอบแบบสอบถาม เป็นต้น.

นิทรรศการเพื่อการค้า
......นิทรรศการเพื่อการค้าจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการขายสินค้ามีลักษณะสำคัญดังนี้ เพื่อขายสินค้า โดยเน้นโฆษณาประชาสัมพันธ์ จัดโดยนักธุรกิจภาคเอกชน มีรูปแบบนิเทศการถาวร เพื่อจะจัดขายได้ระยะเวลานาน เน้นสื่อโฆษณา มีกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการขายเช่น ของตัวอย่าง ของแถม และคูปอง เป็นต้น.

นิทรรศการถาวร
......เป็นการจัดนิทรรศการที่สมบูรณ์แบบที่สุดเพราะต้องใช้การเตรียมทำข้อมูลที่สมบูรณ์ที่สุด เพราะต้องจัดอย่างต่อเนื่องและเป็นระยะเวลานาน มีลักษณะที่สำคัญดังต่อไปนี้ จัดที่ใดที่หนึ่งเป็นระยะเวลานาน มีการลงทุนสูง วัสดุที่ใช้จัดมีความคงทน มีการออกแบบอย่างพิถีพิถัน การทำงานมีระบบแบบแผน เป็นการจัดวิถีชีวิตในชุมชนเป็นส่วนใหญ่สืบทอดมาเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่จะจัดในรูปแบบพิพิธภัณฑ์ เรื่องราวที่จัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับ สังคมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ ดนตรี นาฏศิลป์วรรณกรรม เป็นต้น

นิทรรศการชั่วคราว
เป็นการจัดนิทรรศการแบบชั่วคราวมักจัดตามเทศกาลต่างๆ ใช้เวลาจัดประมาณ 2 – 10 วัน มีลักษณะที่สำคัญต่อไปนี้จัดระยะสั่นเป็นครั้งเป็นคราว ตามเทศกาลต่างๆ เนื้อหาเน้นเรื่องราวใหม่ๆ สื่อที่ใช้จัดเป็นแบบชั่วคราวเป็นทั้งสื่อประเภทวัสดุและกิจกรรม.

นิทรรศการเคลื่อนที่
......นิทรรศการเคลื่อนที่จะเข้าถึงพื้นที่ของกลุ่มเป้าหมาย เพื่อความสะดวกเป็นการบริการทางการศึกษา มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จะจัดไว้เป็นชุดๆ หลายชุด เนื้อหาจะเน้นตอบสนองกลุ่มเป้าหมายเป็นหลัก ต้องอาศัยยานพาหนะเป็นหลัก สื่อที่ใช้มีจำนวนน้อยไม่มากชิ้นนัก.

นิทรรศการในอาคาร.
.....เป็นการจัดนิทรรศการในร่ม มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จัดขึ้นในที่ร่มสามารถกันแดดกันฝนได้ เนื้อหามีไม่มากนักสามาร๔จัดในพื้นที่แคบได้ เนื้อหามีความต่อเนื่องปราศจากสิ่งรบกวน มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยอย่างดี มีการควบคุมแสงเพื่อเน้นจุดสนใจ วัสดุที่จัดเป็นทั้งแบบชั่วคราวและถาวร สามารถควบคุมบรรยากาศในห้องเรียนได้.

นิทรรศการกลางแจ้ง
......จัดในพื้นที่กว้างจัดได้ในบริเวณกว้าง มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ จัดนอกอาคาร จัดได้ทั้งแบบถาวรและชั่วคราว เนื้อหาเน้นสอดคล้องกับธรรมชาติ เช่น เกี่ยวกับโบราณสถาน โบราณวัตถุงานเกษตรกรรม เป็นต้น.

นิทรรศการกึ่งกลางแจ้ง
......จัดทั้งกลางแจ้งและในร่ม มีลักษณะที่สำคัญดังนี้ นิทรรศการจัดได้ทั้งในอาคารและนอกอาคาร จัดได้ทั้งถาวรและชั่วคราว จัดเนื้อหาที่หลากหลายได้เพราะจัดทั้งในอาคารและนอกอาคาร มีสื่อที่หลากหลายอาจเป็นหุ่นจำลองหรือของจริงก็ได้ สามารถออกแบตามวัตถุประสงค์ของผู้จัดได้ เช่น นิทรรศการเพื่อการค้า นิทรรศการเพื่อการศึกษา นิทรรศการเพื่อการประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
.....................................................

บทที่3 หลักจิตวิทยาในการจัดนิทรรศการ

การรับรู้
การรับรู้ คือ การสัมผัสที่มีความหมาย การรับรู้เป็นกระบวนการหรือตีความแห่งการสัมผัสที่ได้รับจากการออกแบบเป็นสิ่งหนึ่งที่มีความหมาย

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการรับรู้
.......1. ปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายนอก ปัจจัยภายนอกที่มีบทบาทในการกระตุ้นการรับรู้ให้ผู้ชมสนใจนิทรรศการ ได้แก่ สื่อและกิจกรรมต่างๆ ที่นำมาจัดแสดง
........- ความเข้ม ความชัดเจนของสื่ออาจประกอบด้วยแสง สีสันที่โดดเด่นสวยงาม
........- ขนาด วัตถุหรือสิ่งเร้าที่มีขนาดใหญ่มักดึงดูดความสนใจได้ดีกว่าขนาดเล็ก
........- ความแปลกใหม่ การเปลี่ยนแปลงทำให้สิ่งเร้าผิดปกติไปจากเดิม สร้างความสนใจได้ดี
........- ความเป็นหนึ่งเดียว สิ่งของหรือวัตถุที่มีอยู่หนึ่งเดียวบนพื้นที่ว่าง บริเวณกว้างก่อให้เกิดความสนใจได้ดี
........- ระยะทาง สิ่งของหรือรูปภาพที่วางซ้อนทับกันบางส่วนจะก่อให้เกิดมิติตื้นลึก ทำให้ดูเป็นระยะทางใกล้ไกล
........2. ปัจจัยที่เร้าความสนใจจากภายใน หมายถึง ปัจจัยด้านจิตวิทยา เนื่องจากอวัยวะรับสัมผัสมีขีดจำกัดในการรับรู้
........-ความตั้งใจ เป็นการเตรียมพร้อมของมนุษย์เพื่อรับสัมผัสให้ได้ชัดเจน
........- แรงขับ เป็นแรงกระตุ้นให้ทำกิจกรรมต่างๆ
........- อารมณ์ หรือคุณภาพของจิตใจ หากอารมณ์แจ่มใสจะสามารถแปลความหมายของการรับสัมผัสได้ถูกต้องกว่าขณะอารมณ์ขุ่นมัว
........- ความสนใจ ความโน้มเอียงที่จะแสดงบทบาทและเข้าร่วมในกิจกรรมหนึ่งๆ
........- สติปัญญา เป็นความสามารถชั้นสูงของมนุษย์ในการผสมผสานระหว่างความรู้สึกกับความคิดอย่างเป็นเหตุผล

การรับรู้นิทรรศการตามแนวทฤษฎีจิตวิทยา
........หลักของความใกล้ชิด หมายถึง สิ่งเร้าที่อยู่ใกล้กันทำให้เรามีแนวโน้มที่จะรับรู้เป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งเร้าที่อยู้ห่างไกล
........หลักของความคล้ายคลึง หมายถึง สิ่งเร้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ทำให้การรับรู้มีแนวโน้มเป็นพวกเดียวกันมากกว่าสิ่งที่แตกต่างกัน แม้สิ่งนั้นจะอยู่ใกล้หรือไกลกัน
........หลักของความต่อเนื่อง หมายถึง สิ่งเร้าที่ปรากฎให้เห็นอย่างซ้ำๆ เหมือนกัน ไปในทิศทางเดียวกันอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มเป็นพวกเดียวกันมากกว่าที่จะแยกจากกันคนละทิศทาง หลักของความต่อเนื่องสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดีทั้งในด้านการโฆษณา ประชาสัมพันธ์และการนำเสนอเนื้อหา สื่อหรือองค์ประกอบที่มีศักยภาพสูงในการแสดงความต่อเนื่องได้ดี
........หลักของความประสาน เป็นการต่อเติมสิ่งเร้าที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ สิ่งที่ผิดปกติหรือส่วนของรูปภาพหรือของวัตถุที่หายไปจะกระตุ้นการรับรู้ได้ดี ความไม่สมบูรณ์จะก่อให้เกิดความสงสัยทำให้เราสนใจ และคาดเดาด้วยการเติมเต็มส่วนที่บกพร่องให้สมบูรณ์การเรียนรู้

ประเภทของการเรียนรู้
........1. การเรียนรู้ด้านความรู้ความเข้าใจ หมายถึง พฤติกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับความรู้ความจำความเข้าใจ การวิเคราะห์การสังเคราะห์ การประเมินค่า ผู้ชมสามารถเกิดการเรียนรู้ได้จากสื่อหรือวิธีการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น รูปภาพ หุ่นจำลอง ของจริง ของตัวอย่าง แผนภูมิ แผนสถิติ
........2. การเรียนรู้ด้านเจตคติหรือด้านอารมณ์จิตใจ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านจิตใจอารมณ์หรือความรู้สึก ทำให้ผู้ชมเกิดความพอใจซาบซึ้ง เห็นคุณค่า เกิดความศรัทธาภาคภูมิใจ เนื่องจากการนำเสนอสื่อและกิจกรรมในงานนิทรรรศการเปิดโอกาสให้ผู้ชมมีอิสระในการเลือกชม
........3. การเรียนรู้ด้านกล้ามเนื้อและประสาทสัมผัส หมายถึง การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกี่ยวกับทักษะหรือความชำนาญในการใช้กล้ามเนื้อหรืออวัยวะต่างๆ ในการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะเป็นทักษะในการพูด การอ่าน การเขียน การเล่นดนตรี กีฬา ฟ้อนรำ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของผู้ชมในการชมนิทรรศการ
..........1. ผู้ชมหรือผู้เรียน
............-วุฒิภาวะและความพร้อม หมายถึง ความเจริญเติบโตเป็นลำดับขั้นตามธรรมชาติทั้งร่างกายและจิตใจ
............-เพศ เพศหญิงและชายมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ทัดเทียมกันแต่ความสนใจไม่เหมือนกัน
............-สติปัญญา เป็นสมรรถภาพการทำงานของสมองในการรับรู้และการเรียนรู้ข้อมูล
............-อารมณ์ เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในของบุคคล เปลี่ยนแปลงได้ง่ายและรวดเร็ว
............-ความสนใจ เป็นตัวกระตุ้นให้การเรียนรู้มีจุดมุ่งหมาย
............-ประสบการณ์ หมายถึง การสะสมข้อมูลต่างๆ ไว้ในสมองในรูปของความจำ
............-ระดับการศึกษา เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา สื่อ และวิธีการนำเสนอในนิทรรศการ
..........2. เนื้อหาบทเรียนและกิจกรรม
............-ความยากง่ายของเนื้อหา ควรเหมาะสมกับวุฒิภาวะและคุณสมบัติอื่นๆ ของผู้ชม
............-ความหมายของเนื้อหา ต้องมีความหมายหรือมีความสำคัญต่อผู้ชม อาจมีความหมายในการประกอบอาชีพ การเรียน การดำเนินชีวิต
............-ความสอดคล้องของเนื้อหากับกิจกรรม เนื้อหาบางอย่างเพียงแต่ดูหรือฟังก็เกิดการเรียนรู้ เนื้อหาบางอย่างต้องทดลองหรือปฏิบัติจึงเกิดการเรียนรู้
..........3. เทคนิคการนำเสนอ
............-ความพร้อม ก่อนถึงเวลาการนำเสนอควรเตรียมความพร้อมในเรื่องต่างๆ ให้เรียบร้อยทุกด้าน
............-ความคล่องแคล่ว ผู้นำเสนอต้องบรรยายหรือนำเสนอด้วยความชำนาญ
............-ความชัดเจนถูกต้อง เนื้อหาที่นำเสนอแก่ผู้ชมต้องมีความถูกต้อง สามารถระบุแหล่งที่มาให้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้

จิตวิทยาพัฒนาการ
วัยหรืออายุของผู้ชมมีความเกี่ยวข้องกับวุฒิภาวะ ความพร้อม การรับรู้ การเรียนรู้ ความต้องการ ความสนใจและประสบการณ์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ในการชมนิทรรศการ
........1. วัยเด็กตอนต้น มีอายุตั้งแต่ 2-6 ปี เป็นวัยที่มีการปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก เพราะเริ่มก้าวออกสู่สังคมนอกบ้าน เด็กวัยนี้ชอบสิ่งแปลกใหม่สนใจสิ่งรอบตัว ช่างสำรวจ ช่างซักถาม ชอบรูปภาพในหนังสือ ชอบวิ่งเล่น ร้องเพลงที่มีจังหวะง่ายๆ เนื้อหาหรือกิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการสำหรับเด็กวัยตอนต้น เช่น ของเล่น ตุ๊กตา อุปกรณ์ล้อเลียน เครื่องเล่นที่มีการเคลื่อนไหว ภาพยนตร์การ์ตูน กิจกรรมการขีดเขียน การตัดกระดาษ การปั้นดินน้ำมัน
........2. วัยเด็กตอนกลาง มีอายุประมาณ 7-12 ปี สนใจสภาพแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมรอบตัว พอใจที่จะเผชิญสิ่งแปลกใหม่ ชอบอ่านหนังสือ ฟังเพลง ร้องเพลง ดูโทรทัศน์ ชอบภาพยนตร์ประเภทนิทาน นิยายผจญภัยลึกลับ การทดลองค้นคว้าหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ สนใจร่างกายของตนเอง สัตว์เลี้ยง การออกกำลังกาย กิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการสำหรับเด็กวัยตอนกลาง เช่น นิทาน หนังสือการ์ตูน การร้องเพลงและการแสดงบนเวที การปั้นดินน้ำมัน การพับกระดาษ การเล่นกลางแจ้ง การขี่จักรยาน ว่ายน้ำ การวาดภาพ
........3. วัยรุ่น อายุประมาณ 13-19 ปี ลักษณะการสนใจของวัยรุ่นมีขอบข่ายกว้างขวาง สนใจและชอบเลียนแบบบุคคลที่มีชื่อเสียง โดยเฉพาะดารา วัยรุ่นทั่วไปจะสนใจตนเอง เช่น รูปร่างหน้าตา ผิวพรรณ การแต่งกาย การปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย สนใจคบเพื่อนเพศเดียวกันและเพื่อนต่างเพศ มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ มีงานอดิเรกที่แตกต่างกันไป เช่น อ่านหนังสือ เล่นดนตรี เล่นกีฬา เล่นคอมพิวเตอร์ กิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการสำหรับวัยรุ่น เช่น การดูแลสุขภาพวัยรุ่น การปรับปรุงบุคลิกภาพ ดนตรี กีฬาและการแข่งขัน ทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ศิลปะแขนงต่างๆ การแข่งขันความสามารถด้านต่างๆ การท่องเที่ยวและนันทนาการ
........4. วัยผู้ใหญ่
........- วัยผู้ใหญ่ตอนต้น อายุประมาณ 20-40 ปี สนใจเกี่ยวกับเรื่องรูปร่างหน้าตา การปรับปรุงบุคลิกภาพ อยู่ในวัยสร้างฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม ที่อยู่อาศัย การปรับตัวให้เข้ากับคู่สมรส การอบรมเลี้ยงดูลูก ให้ความสนใจกับงานสังคม การเมือง งานอดิเรก การพักผ่อนและศาสนา กิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการ เช่น อาชีพและรายได้ การแข่งขันเชิงวิชาชีพ การส่งเสริมการศึกษาสำหรับลูก ที่อยู่อาศัย สุขภาพอนามัย ศิลปวัฒนธรรมและงานประเพณี
.......- วัยผู้ใญ่ตอนกลาง อายุ 40-60 ปี เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจไปในทางที่เสื่อมถอย ความสนใจอยู่ที่เรื่องสุขภาพ กิจกรรมยามว่าง ความสัมพันธ์ในครอบครัว การทำประโยชน์ให้สังคม กิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการควรเป็นเรื่องจริงที่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน อาชีพและรายได้ที่มั่นคง สุขภาพอนามัย ความผูกพันกับชีวิตครอบครัว
.......- วัยชรา อายุ 60 ปีขึ้นไป เป็นวัยปรับตัวให้เหมาะกับความเสื่อมของสุขภาพร่างกาย สนใจเรื่องสุขภาพ ชอบให้มีคนอยู่เป็นเพื่อน สนใจเรื่องราวในอดีต กิจกรรมที่เหมาะกับการจัดนิทรรศการ เช่น เรื่องราวในอดีต ประสบการณ์และความสำเร็จ ศาสนาและความเชื่อ การดูแลสุขภาพอนามัย การพักผ่อน กิจกรรมแสดงความรักและความเคารพ การเตรียมตัวในบั้นปลายชีวิต
.....................................................

บทที่4 หลักการออกแบบนิทรรศการ

ความหมายของการออกแบบ
........การออกแบบตรงกับภาษาอังกฤษว่า "design" เป็นกระบวนจัดองค์ประกอบในทุกสาขาวิชา ให้มีลักษณะแปลกใหม่ สวยงาม สื่อความหมายได้ดี โดยอาศัยความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการเป็นหลักสำคัญ ในการจุดประกายความคิด

........การออกแบบหมายถึง การรู้จัดวางแผนเพื่อจะได้ลงมือกระทำตามที่ต้องการ และรู้จักเลือกวัสดุ วิธีการ เพื่อทำตามที่ต้องการนั้น โดยให้สอดคล้องกับลักษณะรูปแบบ และคุณสมบัติของวัสดุตามความคิดสร้างสรรค์
........สรุป การออกแบบหมายถึง ความคิดคำนึงหรือจินตนาการเกี่ยวกับความสัมพันธ์โดยรวม ขององค์ประกอบย่อยกับโครงสร้างของแต่ละเรื่อง นักออกแบบจะพยายามสร้างทางเลือกหลายๆ แบบ โดยการเปลี่ยนคุณสมบัติขององค์ประกอบต่างๆ เช่น ขนาด พื้นผิว ตำแหน่ง ทิศทาง รูปทรง รูปร่าง เพื่อให้ได้โครงสร้างที่เหมาะสม

คุณค่าของการออกแบบ
1. เพื่อประโยชน์ใช้สอย เช่น การออกแบบเครื่องไฟฟ้า เครื่องครัว
2. เพื่อประโยชน์ในการติดต่อสื่อสาร เช่น หนังสือพิมพ์
3. เพื่อคุณค่าทางความงาม เช่น ภาพเขียน อนุสาวรีย์ ภาพปั้น

จุดมุ่งหมายของการออกแบบ
........1. การออกแบบเพื่อประโยชน์ใช้สอย เป็นกระบวนการคิดในการแก้ปัญหา โดยการจัดองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสม นักออกแบบควรคำานึงถึงสิ่งต่อไปนี้
..........- หน้าที่หรือประโยชน์ใช้สอย
..........- ความประหยัด
..........- ความทนทาน
..........- โครงสร้าง
..........- ความงาม
........2. การออกแบบเพื่อความงามและความพอใจ เป็นการออกแบบที่นิยมใช้กับศิลปกรรม หรืองานวิจิตรศิลป์ทุกแขนง ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ดนตรี นาฏศิลป์และวรรณกรรม ผลงานเหล่านี้เกิดจากการถ่ายทอดความงาม ตามความต้องการของอารมณ์และก่อให้เกิดความพอใจ

วัตถุประสงค์ของการออกแบบนิทรรศการ
1. เพื่อกระตุ้นความสนใจ ให้ได้รับความรู้และประสบการณ์จากการจัดนิทรรศการ
2. เพื่อเป็นการสร้างสรรค์รูปแบบของสื่อต่างๆ และเนื้อหาให้มีลักษณะกระชับ สวยงามตรงประด็น เข้าใจง่าย
3. เพื่อเป็นการกระตุ้นและดึงดูดความสนใจให้ได้รับข้อมูล ข่าวสาร
4. การออกแบบที่ดีเป็นการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้ดูแปลกตา
5. เป็นการประหยัดเวลา งบประมาณ และแรงงานในการลองผิดลองถูกกับสถานที่ ซึ่งเป็นการเสี่ยงต่อความล้มเหลว

หลักการออกแบบในการจัดนิทรรศการ
1.ความเป็นเอกภาพ
........เอกภาพ (Unity) หมายถึง ผลรวมขององค์ประกอบที่อยู่ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม แสดงให้เห็นถึงความเป็นหน่วยเป็นกลุ่ม ทำให้ผู้ชมรับรู้เนื้อหาได้ง่ายขึ้น ปัจจัยที่ทำให้เกิดเป็นเอกภาพ เช่น
........1.1 ความใกล้ชิด เป็นการจัดองค์ประกอบให้อยู่ใกล้กันเป็นกลุ่ม ทำให้สาระดูเด่นเป็นจุดสนใจ อำนวยความสะดวกในการรับรู้
........1.2 การซ้ำ เป็นการกำหนดให้องค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง ที่มีลักษณะเหมือนกันปรากฎขึ้นหลายครั้งในตำแหน่งที่ทิศทางเหมือนหรือต่างกัน
........1.3 ความต่อเนื่อง เป็นลักษณะของสิ่งเร้าที่สามารถดึงดูดสายตาให้เคลื่อนที่ จากจุดหนึ่งไปยังจุดหนึ่งด้วยความราบรื่น
........1.4 ความหลากหลาย รูปแบบของความเป็นเอกภาพ ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่มีลักษณะเดียวกัน มีความกลมกลืนกัน แต่ความหลากหลายต้องเป็นรูปแบบที่มีจุดมุ่งหมายแน่นอน
........1.5 ความกลมกลืน มีลักษณะใกล้เคียงกัน ให้ความรู้สึกราบรื่น สบายตา ไม่ขัดข้อง
2. ความสมดุล
........ความสมดุล (Balance) เป็นการจัดองค์ประกอบให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ชมคล้อยตาม ความสมดุลช่วยให้ผู้ชมรู้สึกสบายตา ไม่อึดอัด
........2.1 ประเภทของความสมดุล
........- ความสมดุลแบบสมมาตร คือ ความสมดุลที่มีลักษณะซ้ายขวาเท่ากัน มีปริมาณน้ำหนักเท่าๆ กัน ความสมดุลลักษณะนี้ให้ความรู้สึกนิ่งเฉย มั่นคง แน่นอน จริงจัง มีระเบียบวินัย มักใช้เนื้อหาเกี่ยวกับงานราชการ ศาสนา การเมือง การปกครอง
........- ความสมดุลแบบอสมมาตร คือ ความสมดุลที่มีลักษณะการจัดองค์ประกอบซ้ายขวาไม่เท่ากัน ไม่คำนึงถึงความเท่าเทียมของขนาดและปริมาณ แต่คำนึงถึงน้ำหนักที่ถ่วงดุลเป็นสำคัญ
........2.2 ความสมดุลของสี
........- สีเขียวกับสีแดงบนพื้นสีขาว มีความเข้มของสีและปริมาณเท่ากัน
........- สีแดงกับสีเทาบนพื้นสีขาว มีความจัดของสีต่างกัน จึงต้องเพิ่มปริมาณของสีเทาให้ใหญ่ขึ้น
........- สีน้ำเงินกับสีส้มบนพื้นสีแดง สีส้มจะกลมกลืนกับสีแดงจึงต้องเพิ่มปริมาณของสีส้มให้ใหญ่ขึ้น
3. การเน้น
........เป็นการเลือกย้ำทำให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของสิ่งเร้ามีความเข้มโดดเด่น
........- การเน้นด้วยการตัดกัน หมายถึง การจัดองค์ประกอบสำคัญของแต่ละส่วนให้มีความเข้มต่างกัน เช่น การตัดกันของพื้นผิวหยาบและผิวละเอียด
........- การเน้นด้วยการแยกตัวออกไป หมายถึง การจัดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งแยกตัวออกไปจากองค์ประกอบส่วนใหญ่
........- การเน้นเนื้อหาโดยรวม การจัดนิทรรศการโดยเน้นเนื้อหาภาพรวมทั้งหมด ไม่มีการเน้นจุดใดจุดหนึ่งเป็นจุดสนใจโดยเฉพาะ เนื่องจากองค์ประกอบทุกอย่างจัดให้มีคุณค่าต่อการรับรู้พอๆ กัน
........- การเน้นให้เกิดจังหวะ คำว่า "จังหวะ" หมายถึง ตำแหน่งของสิ่งเร้าที่ถูกจัดวางเป็นระยะๆ

....................................................

บทที่5 ขั้นตอนในการจัดนิทรรศการ

ขั้นการวางแผน.
.......ประเภทและกิจกรรมของนิทรรศการ (what) ผู้ดำเนินงานต้องระบุชื่อ หรือประเภทของกิจกรรมให้ชัดเจน เช่น การจัดนิทรรศการ การจัดจุลนิทัศน์ การรณรงค์ การจัดมหกรรม การโฆษณา การประชาสัมพันธ์ เพื่อกำหนดขอบข่ายของการดำเนินงานให้แน่นอน
........วัตถุประสงค์ของการจัดนิทรรศการ (why) ควรคำนึงถึงวัตถุประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายในการจัดกิจกรรม เช่น การจัดจุลนิทัศน์แสดงสินค้าเพื่อส่งเสริมการขาย
........สถานที่จัดนิทรรศการ (where) สถานที่หรือบริเวณอยู่ที่ไหน ห่างไกลจากชุมชนกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ การคมนาคมสะดวกมากน้อยเพียงใด เนื้อหาบางเรื่องหากสามารถจัดในแหลางชุมชนหรือบริเวณที่เป็นสถานที่ตั้งขององค์ความรู้นั้น ก็จะช่วยส่งเสริมการรับรู้และการเรียนรู้ได้ดี
........ระยะเวลาในการจัดนิทรรศการ (when) กิจกรรมนั้นจะจัดขึ้นเมื่อใด อาจเป็นวันหยุด วันเปิดอาคารใหม่ หรือจัดระหว่างวันเทศกาล เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์
........ผู้จัดและกลุ่มเป้าหมายของนิทรรศการ (who) ใครคือผู้จัดหรือผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัด คณะผู้จัดมีความสามารถและศักยภาพในการจัดเพียงใด ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการจัดนิทรรศการ
........วิธีจัดนิทรรศการ (how) เป็นคำถามที่สำคัญที่สุดซึ่งจะนำไปสู่การลงมือปฏิบัติงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์และประสิทธิภาพ

ขั้นปฏิบัติการผลิตสื่อและติดตั้ง
........1. การออกแบบในงานนิทรรศการ เป็นหัวใจสำคัญช่วยให้งานดูโดดเด่น และกระตุ้นความสนใจ การออกแบบสื่อหรือองค์ประกอบทุกชนิดจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายวิศวกร สถาปนิก ฝ่ายศิลปกรรม
- การออกแบบโครงสร้าง ได้แก่ โครงสร้างทางกายภาพของงานนิทรรศการ เช่น อาคาร ห้องจัดแสดง เวที ซุ้มประตูทางเข้างาน บู๊ธ (booth)
- การออกแบบตกแต่ง เพื่อทำให้งานนิทรรศการมีความโดดเด่น สวยงาม ดึงดูดความสนใจ สื่อความหมายกับผู้ชม
- การออกแบบสื่อ 2 มิติ เป็นสื่อประเภทงานกราฟิกที่ใช้ในการเสนอเนื้อหา เพื่อถ่ายทอดให้ผู้ชมเกิดการเรียน รู้โดยตรง เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนสถิติ รูปภาพ ภาพเขียน ภาพถ่าย ภาพโปสเตอร์
- การออกแบบสื่อประสมหรือสื่อมัลติมีเดีย ปัจจุบันการออกแบบและการนำเสนอผลงาน ทำได้สะดวกรวดเร็วโดยใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย ทำให้รูปแบบของสื่อและวิธีการนำเสนอมีความแปลกใหม่ น่าสนใจ
........2. การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เช่น อุปกรณ์หลักในการจัดสถานที่ อุปกรณ์สำหรับการติดตั้ง อุปกรณ์เกี่ยวกับแสงเสียงและไฟฟ้า วัสดุอุปกรณ์เพื่อการแสดงและตกแต่ง โสตทัศนวัสดุ อาจได้มาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การยืม การจัดซื้อ การเช่า การจัดหา การจัดทำ เพื่อเป็นการป้องกันความ สับสนและการสูญหาย ควรจัดเรียงรายการวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องการ
........3. การลงมือติดตั้งสื่อต่างๆ เป็นขั้นจัดวางสิ่งของวัสดุอุปกรณ์ให้เป็นไปตามผังที่ออกแบบไว้ การตกแต่ง และติดตั้งวัสดุอุปกรณ์ต้องกระทำให้เสร็จเรียบร้อยและทดลองใช้ก่อนวันเปิดงาน ส่วนรูปแบบและตำแหน่งการวางสิ่งของในสถานที่จริงอาจปรับเปลี่ยนได้บ้างตามความเหมาะสม หลักสำคัญที่ควรคำนึงในการปฏิบัติมีดังนี้ คือ การจับยึดวัสดุติดตั้งและวัสดุแขวนต้องมั่นคงแข็งแรง
........4. การควบคุมดูแลความปลอดภัย เป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ชมได้รับอันตรายใดๆ จากการเข้าชมนิทรรศการ โดยเฉพาะอุบัติเหตุจากการติดตั้งวัสดุอุปกรณ์สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ อุบัติเหตุจาก การทดลองการแข่งขันและการสาธิต การจราจรภายในนิทรรศการ

ขั้นการนำเสนอ
เป็นการแสดงเนื้อหาข้อมูลหรือสื่อต่างๆ ให้ผู้ชมได้รับรู้ ทดลอง จับต้อง หรือเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตามที่วางแผนออกแบบและติดตั้งไว้ ประกอบด้วย
.........1. พิธีเปิดนิทรรศการ เป็นกิจกรรมเริ่มแรกที่แสดงถึงความพร้อมเพรียงในการเตรียมงาน พร้อมที่จะเปิด ให้ผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมายเข้ามาชมนิทรรศการอย่างเป็นทางการ สิ่งสำคัญที่ต้องเตรียมในพิธีเปิดคือ เครื่อง ขยายเสียงคุณภาพดี แท่นยืนสำหรับประธาน คำกล่าวรายงานของผู้รายงาน และคำกล่าวเปิดงานสำหรับ ประธานในพิธี
........2. การนำชมและดำเนินกิจกรรม หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้นลง คณะผู้จัดนิทรรศการนำประธานและผู้เข้าชมเดินชมนิทรรศการ แต่ละจุดมีพิธีกรบรรยาย กิจกรรมประกอบควรสอดคล้องกับเนื้อหาและกลุ่มเป้าหมาย
........3. การประชาสัมพันธ์ภายใน เป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชมในการเข้าชมนิทรรศการ ด้วยสื่อหลายชนิด เช่น ป้ายผังรวมของงานหรือแผ่นปลิวบอกตำแหน่งที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน การใช้เครื่องขยายเสียงสื่อสารกับผู้ชมด้วยการแนะนำรายการต่างๆ ภายในงาน

ขั้นการประเมิน
ผลการประเมินผลเป็นงานสุดท้ายที่มีความสำคัญที่สุดของการปฏิบัติงานทุกชนิด เพราะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงาน ในคณะผู้ดำเนินงาน ได้เห็นถึงข้อดีข้อเสีย จุดเด่นจุดด้อยที่สามารถนำไปแก้ไขปรับปรุงในการจัดงานครั้งต่อๆ ไป
........1. การประเมินภายในโดยกลุ่มผู้จัด เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาอุปสรรค และแนวทางในการแก้ปัญหา หาข้อดีข้อเสียในการดำเนินงานทุกขั้นตอน
........2. การประเมินโดยกลุ่มผู้ชมหรือกลุ่มเป้าหมาย ความสำเร็จของนิทรรศการอยู่ที่ผู้ชม จึงต้องประเมินจากผู้ชมเพื่อสะท้อนให้เห็นข้อเด่นและข้อด่อยของการจัดนิทรรศการ
..................................................

บทที่6 เทคนิคการจัดนิทรรศการ

การจัดแผ่นป้าย
แผ่นป้าย (board) หมายถึง แผ่นหนังสือหรือแผ่นเครื่องหมายที่บอกให้รู้ เป็นวัสดุรองรับสื่อหรือเนื้อหาต่างๆ ที่นำมาจัดแสดงซึ่งมีหลายรูปหลายแบบ
1. ประเภทของแผ่นพับ
........1.1 จำแนกตามวัสดุที่ใช้ทำ ได้แก่.
.......- ไม้ เป็นวัสดุแข็งแรง สามารถตกแต่งดัดแปลงได้ง่าย สะดวกในการใช้งาน เหมาะกับการทำแผ่นป้าย
........- พลาสติก เป็นวัสดุสังเคราะห์ มีหลายชนิด ชนิดที่สามารถนำมาทำแผ่นป้ายได้มีลักษณะเป็นแผ่น ขนาดความกว้างยาวเท่ากับไม้อัด
........- โลหะ เป็นวัสดุที่มีความทนทานที่สุด แต่มีน้ำหนักมาก โดยเฉพาะเหล็กแผ่นหรือสแตนเลสแผ่น
........1.2 จำแนกตามลักษณะการติดตั้ง ได้แก่
........- ป้ายที่เคลื่อนที่ได้ สามารถนำไปติดตั้งในบริเวณพื้นที่ต่างๆ ได้ตามความต้องการ จึงจำเป็นต้องมีขาตั้งที่มั่นคง
........- ป้ายที่เคลื่อนที่ไม่ได้ เป็นป้ายนิเทศน์ที่ติดตั้งอยู่ที่ใดที่หนึ่งอย่างถาวร ซึ่งอาจเป็นฝาผนัง หรือบริเวณพื้นที่ที่สวยงามเหมาะสม

2. เทคนิคการจัดทำแผ่นป้าย
........2.1 แผ่นป้ายยึดติดกับขาตั้งอย่างถาวร มีลักษณะแต่ละป้ายติดตายตัวกับขาตั้งได้อย่างอิสระ ไม่ต้องพึ่งพิงเกาะเกี่ยวกับวัสดุอื่น
........2.2 แผ่นป้ายอิสระ เป็นแผ่นป้ายอิสระ ไม่ยึดติดกับขาตั้งสามารถถอดประกอบกับขาตั้ง และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ได้
........2.3 แผ่นป้ายแบบแขวน เป็นแผ่นป้ายไม่ยึดติดกับขาตั้งโดยตรง สามารถถอดประกอบได้ การติดตั้งต้องใช้วิธีแขวนกับราวหรือกรอบที่ทำไว้รองรับโดยเฉพาะ ซึ่งอาจต่อเติมเสริมแต่งให้มีหลังคาขึงด้วยผ้าดิบ
........2.4 แผ่นป้ายแบบโค้งงอรูปตัวเอส (s) เป็นแผ่นป้ายที่ทำจากแผ่นพลาสติกหรือแผ่นโลหะ วัสดุทำแผ่นป้ายสามารถดัดให้เป็นรูปทรงตามต้องการได้ ทำให้ผู้ชมได้เห็นรูปทรงแผ่นป้าย ที่แปลกตาและสนใจ
........2.5 แผ่นป้ายแบบกำแพง มีความหนาเป็นพิเศษ ด้านล่างยึดติดกับฐานกล่องรูปสามเหลี่ยม หรือสี่เหลี่ยมทำให้สามารถวางตั้งได้ตามลำพัง

3.การจัดป้ายนิเทศ
ป้ายนิเทศเป็นสื่อทัศนวัสดุประเภทหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ คือเป็นแผ่นป้ายที่ทำหน้าที่เสนอเนื้อหา เพื่อถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ให้ผู้ชมได้เรียนรู้ตามความเหมาะสม
........1. คุณค่าของป้ายนิเทศเป็นสื่อเร้าความสนใจผู้ชมโดยใช้รูปภาพ ข้อความ และสัญลักษณ์ที่สวยงาม มีความหมายต่อผู้ชม ซึ่งประหยัดเวลาในการสอนและการสื่อความหมาย เพื่อถ่ายทอดความรู้
........2. หลักการและเทคนิคการจัดป้ายนิเทศ์ การจัดป้ายนิเทศน์ให้มีประสิทธิภาพในการกระตุ้นความสนใจ และการสื่อความหมายคำนึงถึงหลักต่อไปนี้
........- การกระตุ้นความสนใจ สามารถดึงดูดและกระตุ้นความสนใจผู้ชมได้ด้วยความเด่น สะดุดตา จากองค์ประกอบด้านสี เส้น พื้นผิว ขนาด รูปร่าง
........- การมีส่วนร่วม สามารถกระตุ้นให้เกิดความต้องการ เมื่ออ่านหรือชมป้ายนิเทศ ทำให้เกิดความรู้สึกอยากมี อยากได้ อยากทดลอง
........- การตรึงความสนใจ สามารถรักษาความสนใจให้คงอยู่ตั้งแต่ต้นจนจบ

การจัดป้ายนิเทศให้สอดคล้องกับเนื้อหาและวัตถุประสงค์
........- การจัดภาพบนหน้าต่างหรือแบบวินโดว์ (window) เป็นการจัดเพื่อเน้นรายละเอียดด้วยรูปภาพขนาดใหญ่เพียงภาพเดียว ทำให้ภาพมีความโดดเด่นเหมาะกับเนื้อหา ต้องการถ่ายทอดรายละเอียดของความรู้และความรู้สึกด้วยรูปภาพ
........- การจัดภาพแบบละครสัตว์ (circus) เป็นการจัดภาพที่มีลักษณะเป็นกลุ่มๆ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ผู้ชมมีอิสระในการเลือกชมรูปภาพหรือเลือกอ่านเนื้อหาตามใจชอบ การจัดภาพแบบละครสัตว์จึงเหมาะกับเนื้อหาที่มีหลายหัวข้อย่อย
........- การจัดภาพแบบแกน (axial) เป็นการจัดภาพอยู่ตรงกลาง และมีคำอธิบายกำกับทางด้านซ้ายหรือด้านขวา
........- การจัดภาพแบบกรอบภาพ (frame) เป็นการจัดโดยนำภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาวางเรียงต่อกัน ล้อมรอบเนื้อหาข้อความ
........- การจัดภาพแบบตาราง (graid) เป็นการจัดภาพไว้ในตารางซึ่งอาจเว้นช่องใดช่องหนึ่ง หรืออาจขยายภาพใดภาพหนึ่ง เพื่อให้เกิดจังหวะระหว่างรูปภาพ ทำให้ดูแปลกตา
........- การจัดภาพแบบแถบ (band) เป็นการจัดรูปภาพและเนื้อหาที่เรียงตามลำดับขั้นตอนตั้งแต่ขั้นต้นจนถึงขั้นสุดท้าย แสดงให้เป็นลำดับขั้น เช่น การขับรถยนต์ การทำนา การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์
........- การจัดภาพแบบทางเดิน (path) เป็นการจัดให้รูปภาพหรือเหตุการณ์เรียงกันอย่างต่อเนื่อง ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

การกำหนดบริเวณว่างในนิทรรศการ
........-บริเวณว่างเป็นองค์ประกอบสำคัญในการจัดนิทรรศการ สามารถทำให้นิทรรศการมีคุณค่าและประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้เป็นอย่างดี ทำให้ผู้ชมเกิดความพึงพอใจในประโยชน์ใช้สอย และความงามจากการออกแบบและการกำหนดบริเวณว่างที่เหมาะสม การเดินชมรู้สึกผ่อนคลาย จึงควรคำนึงถึงลักษณะและการออกแบบบริเวณว่างดังนี้
........1. ลักษณะของบริเวณว่างบริเวณว่างมีสองลักษณะ ได้แก่ บริเวณว่างที่ใช้สอยให้เกิดประโยชน์และบริเวณว่างที่นอกเหนือจากการใช้สอย บริเวณว่างทั้งสองลักษณะมีความสัมพันธ์และส่งผลกระทบซึ่งกันแลกันเสมอ
........2. การออกแบบบริเวณว่าง
........- การจัดองค์ประกอบแนวตั้ง องค์ประกอบแนวตั้งโดยปกติจะกินพื้นที่อากาศในแนวดิ่ง มองโดยรวมจะเป็นเส้นตั้ง ช่วยกำหนดขอบมุมของปริมาตรของที่ว่าง แต่ถ้ากำหนดให้มีองค์ประกอบลักษณะเดียวกันมากกว่า 2 องค์ประกอบขึ้นไป และวางในตำแหน่งมุมต่างกันที่ไม่ใช่แถวเดียวกัน เช่น การวางเสาจำนวน 4 ต้น แต่ละต้นวางไว้ตามมุมของพื้นที่สี่เหลี่ยม จะก่อให้เกิดปริมาตรของบริเวณว่างระหว่างเสาทั้ง 4 ต้น
........- การจัดองค์ประกอบระนาบแนวตั้งรูปตัวแอล (L) หรือระนาบมุมฉาก ช่วยสร้างปริมาตรของที่ว่างในมุมฉาก เป็นระนาบแนวตั้งสองด้านบรรจบกันที่มุมใดมุมหนึ่ง ก่อให้เกิดสนามบริเวณว่างจากมุมตามแนวทแยงมุม การรวมตัวกันของบริเวณว่างที่เกิดจากระนาบแนวตั้งทั้ง 2 ด้าน สามารถดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้จากมุมกว้าง ให้มุ่งไปยังจุดสนใจเพียงจุดเดียว
........3. การกำหนดบริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาการใช้บริเวณว่างในเชิงจิตวิทยาเพื่อการเชิญชวนลูกค้าหรือผู้ชมเข้าชมและร่วมกิจกรรม ควรคำนึงถึงธรรมชาติของการปฏิสัมพันธ์และการแสดงออกของผู้ชม โดยเฉพาะลูกค้าใหม่หรือผู้ชมที่ยังไม่คุ้นเคยกับสินค้าผลิตภัณฑ์ใหม่ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกีดขวางใดๆ ทุกชนิด ระหว่างทางสัญจรภายนอกกับบริเวณภายในนิทรรศการ เช่น พื้นที่ต่างระดับกัน การใช้เส้นขวางหรือสีกำหนดขอบเขต โต๊ะ แผงกั้นราว ตู้ ชั้นวางสิ่งของ
..........................................................

วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

บทที่ 7สื่อในการจัดนิทรรศการ

ประเภทของสื่อในนิทรรศการ

........1. สื่อวัสดุ ได้แก่ สื่อขนาดเล็กมีน้ำหนักเบา มีคุณค่าต่อการเรียนรู้ของผู้ชมนิทรรศการ เนื่องจากสื่อประเภทนี้เป็นแหล่งเก็บรวบรวมความรู้และประสบการณ์ เช่น แผ่นปลิว แผนภูมิ แผนภาพ ภาพถ่าย เทปเสียง แผ่นซีด๊
........2. สื่ออุปกรณ์ ได้แก่ สื่อใหญ่หรือสื่อหนัก เป็นสื่อประเภทเครื่องมือหรืออุปกรณ์ มีส่วนประกอบเป็นเครื่องยนต์กลไก ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องฉายข้ามศีรษะ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องคอมพิวเตอร์
........3. สื่อกิจกรรม ได้แก่ กระบวนการนำเสนอความรู้ ความเข้าใจ ความรู้สึกนึกคิดหรือข้อมูลด้วยการกระทำเป็นขั้นตอน เน้นให้ผู้ชมนิทรรศการได้มีส่วนร่วมในการแสดงออก เช่น การสาธิต การทดลอง การตอบปัญหา
การใช้สื่อในนิทรรศการ

สื่อวัสดุ
........1. แผ่นปลิว ในงานนิทรรศการใช้แผ่นปลิวได้หลายโอกาส ตั้งแต่ประชาสัมพันธ์งานและให้ข้อมูลเนื้อหาสาระ เหมาะสำหรับกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากและไม่เฉพาะเจาะจง เป็นสื่อที่ลงทุนน้อย
........2. แผ่นพับ เป็นสื่อวัสดุที่ให้ข้อมูลข่าวสารได้ดี เป็นกระดาษแผ่นใหญ่นำมาพับให้มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งาน
........3. จุลสาร วารสาร เป็นที่นิยมมากในการจัดนิทรรศการขนาดกลางและขนาดใหญ่ มักจะจัดทำเป็นโอกาสพิเศษสำหรับนิทรรศการนั้นๆ
........4. ภาพโฆษณา เป็นสื่อทัศนวัสดุที่สร้างขึ้นเพื่อใช้กระตุ้นชักชวน จูงใจ ให้ผู้ชมเกิดความสนใจเชื่อถือ ศรัทธา และนำไปสู่การแสงหาข้อมูลเพิ่มเติม การใช้ภาพโฆษณาในนิทรรศการจะช่วยเร้าใจให้ผู้ชมเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบางอย่างได้ดี เช่น การเตือนให้ระวังภัย การเตือนให้ระวังในการข้ามถนน
........5. แผนภูมิ เป็นวัสดุกราฟิกที่มีองค์ประกอบเป็นสัญลักษณ์ รูปภาพและตัวอักษร ใช้ประกอบการบรรยายชี้แจงสรุปสาระสำคัญในนิทรรศการ ได้แก่ แผนภูมิแบบต้นไม้ แผนภูมิแบบสายธาร แผนภูมิแบบต่อเนื่อง แผนภูมิแบบองค์การ แผนภูมิแบบเปรียบเทียบ แผนภูมิแบบตาราง แผนภูมิแบบวิวัฒนาการ แผนภูมแบบอธิบายภาพ
........6. แผนภาพ เป็นทัศนวัสดุที่แสดงให้เห็นส่วนประกอบต่างๆ ของสิ่งของหรือของระบบงานด้วยภาพ เช่น การทำงานของลูกสูบรถยนต์ การทำงานของเครื่องกรองน้ำ
........7. แผนสถิติ เป็นวัสดุที่เน้นการสื่อความหมายในเชิงปริมาณและตัวเลขแผนสถิติ แต่ละเรื่องควรแจ้งที่มาของข้อมูลต่างๆ ให้ชัดเจน เพื่อสร้างความเชื่อถือและเปิดโอกาสให้ศึกษาค้นคว้าต่อไปได้ง่ายขึ้นด้วย เนื้อหาที่เหมาะสมกับแผนสถิติ ได้แก่ เนื้อหาที่เป๋นข้อมูลเชิงปริมาณ การเปรียบเทียบข้อมูลลักษณะต่างๆ
........8. หุ่นจำลอง เป็นทัศนวัสดุชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อเลียนแบบของจริงมีลักษณะเป็น 3 มิติ แสดงสัดส่วนและสีสันเหมือนของจริงทุกประการ ใช้ในการถ่ายทอดความรู้ทดแทนของจริงในกรณีที่ของจริงไม่สามารถนำมาแสดงได้ เช่น การแสดงโครงสร้างลี้ลับซับซ้อนภายใน
.........9. ของจริง ได้แก่ สิ่งของที่มีสภาพเป็นของเดิมแท้ๆ ของสิ่งนั้นอาจเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น และอาจเป็นได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต ผู้ชมสามารถรับรู้เรียนรู้ของจริงได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 ทำให้สามารถมองเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้รส และได้สัมผัสกับบรรยากาศของจริงด้วยตนเอง

สื่ออุปกรณ์
........1. สื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องเสียง เป็นสื่อโสตอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการจัดนิทรรศการ ช่วยในการปรับเสียงผู้พูดให้ผู้ฟังรับรู้ได้อย่างชัดเจน ทำให้สะดวกในการสื่อความหมายและการถ่ายทอดความรู้ในนิทรรศการ
........1.1 ไมโครโฟน เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญานไฟฟ้าความถี่เสียง
........1.2 เครื่องขยายเสียง การทำงานของเครื่องขยายเสียงมี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ส่วนปรับแต่งและควบคุมเสียง ส่วนที่ 2 ส่วนขยายเสียง ทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณที่ปรับแต่งแล้วจากส่วนแรกให้มีกำลังขยายเพิ่มขึ้น
........1.3 ลำโพง ทำหน้าที่เปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่ขยายแล้วให้กลับเป็นสัญญาณเสียงเหมือนเสียงจากแหล่งกำเนิด

........2. สื่ออุปกรณ์ประเภทเครื่องฉาย
........2.1 เครื่องฉายข้ามศีรษะ เป็นเครื่องฉายที่ใช้แผ่นโปร่งใส มีวิธีใช้ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เครื่องฉายข้ามศีรษะที่ดีคือมีกำลังส่องสว่างสูง สามารถเปลี่ยนหลอดได้สะดวก
........2.2 เครื่องฉายแอลซีดี เป็นเครื่องฉายที่แสดงผลด้วยคริสทัลโมเลกุล ซึ่งอัดอยู่กลางระหว่างแผ่นกระจก
........2.3 เครื่องวิชวลไลเซอร์ เป็นเครื่องฉายแปลงสัญญาณที่ฉายได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว การฉายภาพนิ่งสามารถฉายได้ทั้งภาพทึบแสง ภาพโปร่งแสงและภาพจากวัสดุ 3 มิติ

สื่อกิจกรรม
........1. การบรรยาย คือการถ่ายทอดข้อมูลหรือสิ่งที่ต้องการสื่อสารด้วยการบอกเล่า เป็นกิจกรรมพื้นฐานที่จัดประกอบนิทรรศการ การบรรยายเป็นกิจกรรมที่ทำได้สะดวกไม่ยุ่งยาก
........2. การประชุมสัมมนา เป็นการจัดลักษณะในกลุ่มอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์หรือเป็นการระดมความคิด เหมาะสำหรับกรณีที่ผู้เข้าร่วมงานสัมมนามีประสบการณ์มากและมีความรู้ระดับอาวุโส
........3. การสาธิต เป็นกิจกรรมที่ถ่ายทอดเนื้อหาสาระ ด้วยการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่างพร้อมกับการบรรยายหรืออธิบายเป็นลำดับ
........4. การเล่นเกม เป็นกิจกรรมการแข่งขันที่มีกติกาสำหรับการเล่น อาจแข่งกับตนเองหรือผู้อื่น เกมมีประโยชน์หลายอย่างทำให้ได้รับความเพลิดเพลิน ร่าเริง สนุกสนาน ตื่นเต้น กระตือรือร้น มีระเบียบ อยู่ในเกณฑ์
........5. การจัดประกวดและการแข่งขันทักษะต่างๆ สามารถกระตุ้นความสนใจของผู้เข้าประกวดแข่งขันและผู้ชมนิทรรศการได้ดี เป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถได้รวดเร็ว
.........................................................

เยี่ยมชม blogger